ประโยชน์ของกล้วย
เราคงจะไม่ปฏิเสธว่า "กล้วย" เกี่ยวข้องและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่ง สิ้นอายุขัย...
ในสมัยโบราณ เมื่อสตรีจะคลอดบุตรมักจะมีการจัดเครื่องบูชาสำหรับหมอตำแยเพื่อทำพิธีกรรมที่เป็น มงคลแก่แม่ และลูกที่จะคลอดออกมา เครื่องบูชามักจะประกอบด้วย ขันข้าว ซึ่งบรรจุด้วยข้าวสาร เงิน และสิ่งของต่าง ๆ ได้แก่ หมาก พลู ธูป เทียน และในจำนวนนี้จะต้องมีกล้วยอยู่เสมอ
เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 3 เดือน และพร้อมที่จะรับประทานอาหารอื่นนอกจากนมแม่ได้แล้ว แม่จะเริ่มให้ลูกรับประทานกล้วยควบคู่กับนม เพราะเห็นว่ากล้วยเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย
เมื่อลูกโตขึ้น แม่ก็จะพยายามประดิษฐ์ของเล่นให้ลูก ของเล่นเหล่านั้นส่วนหนึ่งก็มาจากกล้วย เป็นต้นว่า
นำก้านกล้วยมาทำเป็นปืนเด็กเล่น
นำก้านกล้วยมาทำเป็นม้าสำหรับขี่
นำใบตองมาม้วนทำเป็นปี่สำหรับเป่า
นำหยวกกล้วยมาทำเป็นทุ่น หรือแพ สำหรับหัดว่ายน้ำ
ในวัยศึกษาเล่าเรียน กล้วย ก็เข้ามาสู่ห้องเรียนในลักษณะต่าง ๆ เช่น
ผูกเป็นปริศนาให้ทาย เช่น "อะไรเอ่ย ต้นเท่าขา ใบวาเดียว"
ใช้เปรียบเทียบกับความงามของสุภาพสตรีในวรรณคดี เช่น "เรื่องกามนิต-วาสิฏฐี ที่ว่า ขาเธองามดุจลำกล้วย"
ใช้ในคำพังเพยเปรียบเทียบการทำลายล้างเผ่าพันธุ์อย่างถอนรากถอนโคลน "โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก"
ใช้ในสำนวนหรือคำพังเพยแสดงความหมายว่าเป็นเรื่องง่าย ๆ เช่น ง่ายเหมือนปลอกกล้วยเข้าปาก เรื่องกล้วย ๆ กล้วยมาก
ตลอดช่วงชีวิตมนุษย์ สามารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของกล้วย เช่น ใช้เป็นอาหารคาว หวาน ใช้ประดิษฐ์เป็ฯของใช้ ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรค
ในงานบวช และงานมงคลต่าง ๆ กล้วย มักจะถุนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของงานในลักษณะต่าง ๆ เสมอ เช่น
ใบตองกล้วย ถูกนำมาใช้ประดิษฐ์เป็นบายศรีเป็นส่วนประกอบ ของพวงมาลัย
ก้านกล้วย และใบตอง นำมาใช้เป็นกระทง
กล้วยทั้งเครือ นำมาประดับบ้าน เวลามีงานมงคล
เมื่อถึงคราวที่หนุ่ม สาวจะเข้าสู่พิธีแต่งงานกล้วยจะเป็นพืชชนิดหนึ่ง ที่มักจะนำมาใช้ เป็นส่วนประกอบของงานเสมอ เช่น
ใช้ต้นกล้วยเป็นส่วนประกอบในขบวนแห่ขันหมาก
ใช้ผลกล้วย ใบกล้วย ก้าน และหยวกกล้วย เป็นส่วนประกอบในการประกอบพิธีการต่าง ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น